Posted วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 20 เมษายน 2558 กลุ่มเรียน 101





ความรู้ที่ได้รับ 

ในสัปดาห์นี้ ไม่มีการเรียนการสอน แต่วันนี้อาจารย์ให้มาสอบร้องเพลง
จากการจับฉลากขึ้นมา จับได้เพลงอะไรก็ร้องเพลงนั้น โดยมีคะแนนคือ
ไม่ดูเนื้อร้อง = 5 คะแนน
ดูเนื้อร้อง = 4 คะแนน

ดูเนื้อร้องพร้อมให้เพื่อนร้องพร้อมกัน = 3 คะแนน








ภาพแห่งความประทับใจ







การประเมิน


ประเมินตนเอง
1. ตั้งใจซ้อมร้องเพลงอย่างเต็มที่ 
2. ตั้งใจฟังเพื่อนๆ ร้องเพลง และคอยให้กำลังใจ
3. เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อบ

ประเมินเพื่อนๆ
1. เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย
2. เพื่อนตั้งใจซ้อมร้องเพลงอย่างเต็มที่เพื่อคะแนนที่ดี
3. เพื่อนมีส่วนร่วมในการช่วยร้องเพลง เมื่อคนไหนที่ต้องการความช่วยเหลือ

ประเมินอาจารย์
1. อาจารย์ให้โอกาสอย่างเต็มที่ คอยเคาะจังหวะให้ด้วย
2. อาจารย์อวยพรให้นักศึกได้เกรดA ทุกคน น่ารักตั้งแต่คาบแรกจนถึงคาบสุดท้าย 555
3. อาจารย์ มีความเป็นกันเอง และอยากจะเรียนกับอาจารย์อีก ถ้ามีโอกาส


Posted by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 23 เมษายน 2558 กลุ่มเรียน 101







ความรู้ที่ได้รับ


   ในสัปดาห์อาจารย์ได้สอนกับการเขียนแผน  ก่อนเข้าสู้บทเรียนอาจารย์มรเกมส์มาให้เล่น

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟู
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล

การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยาวประจำปี ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพ
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเหมาะสม

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นนวทางในการจัดการเรียนสอนที่ตรงกับความสามารถของความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลง
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างน่อเนื่อง

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
กำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
- กำหนดให้ชัดเจน
-น้องนุ่มช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายของเด็ก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3วัน
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ที่ไหน
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัด
- การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน

การทำ IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน








การประเมิน


ประเมินตนเอง
1. ตั้งใจฟังเนื้อหาที่อาจารย์สอน เพราะเนื้อหาวันนี้สำคัญเป็นอย่างมาก
2. ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ
3. มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินเพื่อนๆ
1. เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย
2. เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมและมีส่วนร่มในการเขียนแผน เป็นอย่างดี
3. เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามต่างๆ อย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์
1. อาจารย์สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย ชัดเจนไม่สับสน
2. อาจารย์คอยแนะนำการเขียนแผนอย่างเต็มที่ ช่วยเหลือนักศึกษาทุกกลุ่มให้เข้าใจมากที่สุด
3. อาจารย์ สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น สนุกสนาน ไม่เครียด




Posted by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 16 เมษายน 2558 กลุ่มเรียน 101



หมายเหตุ...สำหรับวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ






Posted by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 9 เมษายน 2558 กลุ่มเรียน 101






ความรู้ที่ได้รับ

   สำหรับวันนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบเด็กพิเศษเรียนรู้ได้ดีโดยการเลียนแบบเพื่อน พ่อแม่ และครูการทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก







การประเมิน


ประเมินตนเอง
1. เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
2. ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ
3. มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินเพื่อนๆ
1. เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย
2. เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเรียบร้อย และสร้างบรรยากาศอย่างสนุกสนานในชั้นเรียน
3. เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามต่างๆ อย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์
1. อาจารย์สอนเนื้อหาอย่างละเอียด เข้าใจง่าย
2. อาจารย์ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำให้มีความน่าสนใจในการเรียน
3. อาจารย์ สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น สนุกสนาน ไม่เครียด



Posted by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 2 เมษายน 2558 กลุ่มเรียน 101


หมายเหตุ...สำหรับวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ








Posted by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 26 มีนาคม 2558 กลุ่มเรียน 101







ความรู้ที่ได้รับ

   สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ให้สอบย่อยเพื่อเก็บคะแนนในสิ่งที่เรียนมา จำนวน 5 ข้อ ทั้งหมด 10 คะแนน เป็นข้อสอบอัตนัย โดยอาจารย์จะออกข้อสอบแบบให้เราได้วิเคราะห์









Posted by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 19 มีนาคม 2558 กลุ่มเรียน 101

เวลาเรียน 8:30-12:20 น.







ความรู้ที่ได้รับ


สำหรับวันนี้ อาจารย์สอนเนื้อหาในหัวข้อ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ มีเนื้อหาดังนี้

ทักษะการช่วยเหลือตนเองรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากขึ้นที่สุด  การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวันการสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือ ตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่งในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง 
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น 
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป 
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-หนูทำช้า  หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว 
-เด็กรู้สึกยังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-มักช่วยเด็กในช่วยกิจกรรม
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-มักช่วยเด็กในช่วยกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าสวม 
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเซ็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกง
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่ยอให้มากที่สุด



ต่อมา อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นและสีเทียน ให้ระบายสีเป็นวงกลม ให้ในวงกลมมีสีต่างๆ ตามใจชอบ เมื่อระบายสีเสร็จแล้วให้นำมาตัดเป็นรูปวงกลมตามที่เราระบายสีไว้ จากนั้นอาจารย์ก็ได้บอกเกี่ยวกับวงกลมที่เราวาดว่าเกี่ยวกับลักษณะของเรายังไง และก็ให้นำไปแปะรวมกันเป็นต้นไม้รวมกัน
กับเพื่อนๆในห้อง






การประเมิน


ประเมินตนเอง
1. ตั้งใจเรียน และจดเนื้อหาที่ไม่เข้าใจเพิ่มเติมจากที่อาจารย์แนะนำ
2. ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ
3. แต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย

ประเมินเพื่อนๆ
1. เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย
2. เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเรียบร้อย และสร้างบรรยากาศอย่างสนุกสนานในชั้นเรียน
3. เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามต่างๆ อย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์
1. อาจารย์นำกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนเสมอ สนุกสนาน ชอบมากค่ะ
2. อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี เข้าใจเนื้อหาโดยเร็ว ไม่ซับซ้อน
3. อาจารย์ สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น สนุกสนาน ไม่เครียด



Posted by Unknown


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 12 มีนาคม 2558 กลุ่มเรียน 101

เวลาเรียน 8:30-12:20 น.








ความรู้ที่ได้รับ


  หมายเหตุ  สำหรับวันนี้ ดิฉันไม่ได้ไปเรียนค่ะ เนื่องจากไม่สบาย ^^ แต่ก็ได้สอบถามเพื่อนๆว่าวันนี้ อาจารย์มีกิจกรรมมาให้เล่นก่อนเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียน คือ กิจกรรมทุ่งหญ้าซาวันน่า     
   ต่อมา อาจารย์ก็เข้าสู่เนื้อหาในบทเรียน สำหรับเนื้อหาของวันนี้คือ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง - ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษาเด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เช่น
- เสียงของครูโดยหันมามอง
- ต่อคำถาม "เอาอะไร"ด้วยการชี้
- ต่อประโยค "ช่วยเอาให้ที"

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

Posted วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558 by Unknown


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 5 มีนาคม 2558 กลุ่มเรียน 101

เวลาเรียน 8:30-12:20 น.







หมายเหตุ...สำหรับวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม แต่ให้นักศึกษาทุกคนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองค่ะ ^^








Posted by Unknown


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 กลุ่มเรียน 101

เวลาเรียน 8:30-12:20 น.







หมายเหตุ...สำหรับวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์การสอบกลางภาค ค่ะ ^^






Posted วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 กลุ่มเรียน 101

เวลาเรียน 8:30-12:20 น.







ความรู้ที่ได้รับ 

   สำหรับวันนี้ ก่อนเข้าสู่เนื้อหาบทเรียนอาจารย์นำกิจกรรมสนุกๆ มาให้เล่นโดยเป็นเกมทายใจพวกเรา เมื่อเฉลยออกมา ทุกคนในห้อง เฮ.. กันลั่นห้องเลยจ้า555







จากนั้นเข้าสู่เนื้อหาที่เรียน มีหัวข้อดังนี้



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ



ทักษะทางสังคม

  -เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  -การอยู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข


กิจกรรมการเล่น

  -การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  -เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  -ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง


ยุทธศาสตร์การสอน

  -เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้จะเล่นอย่างไร
  -ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  -จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  -ครูจดบันทึก
  -ทำแผน IEP


การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

  -วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  -คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  -ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4 คน
  -เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครุ ให้เด็กพิเศษ


ครูปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

  -อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
  -ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  -ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  -เอาวัสดุมาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  -ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม


การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

  -ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  -ทำโดย การพูดนำของครู


ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์

  -ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  -การให้โอกาส
  -เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
   -ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง



หลังจากที่เรียนในเนื้อหาเสร็จเเล้วอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำคือ ศิลปะเเละดนตรีบำบัด โดยมีขั้นตอนดังนี้


  • ให้จับคู่กัน 2 คน และมีกระดาษ 1 แผ่น กับเลือกสีคนละ 1 แท่ง 
  • ให้ตกลงกันว่าใครจะเป็นคนวาดเส้นตรง หรือจะเป็นคนจุดวงกลม 
  • จากนั้นตกลงกันได้แล้ว อาจารย์เปิดเพลงเป็นดนตรีที่ใช้บำบัดเด็ก โดยให้คนที่ขีดเส้นลากเส้นตามจังหวะเพลง ช้า-เร็ว ตามจินตนาการ แต่ต้องมีวงเพื่อให้เพื่อนจุดได้ 
  • จากนั้นเมื่อเสร็จแล้วก็ให้ช่วยกันดูว่าภาพที่ออกมาสามารถมองเป็นเป็นรูปอะไรได้บ้าง ให้วาดต่อเติมตามจินตนาการ ตกแต่งให้สวยงาม

























การประเมิน




ประเมินตนเอง

1. ตั้งใจทำกิจกรรม และให้ความร่วมมือกับเพื่อนอย่างดี
2. เข้าใจเนื้อหาที่เรียนเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะเทคนิคการสอนของอาจารย์เข้าใจง่าย
3. จะนำกิจกรรมในวันนี้ไปปรับประยุกต์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


ประเมินเพื่อนๆ

1. เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมทุกคน พูดน้อยกว่าเดิม 555 
2. เพื่อนสร้างบรรยากาศในห้องเรียนได้อย่างสนุกสนาน ไม่เครียด
3. เพื่อนตั้งใจเรียน และจดเนื้อหา ข้อเสนอแนะของอาจารย์


ประเมินอาจารย์

1. อาจารย์นำกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนอีกแล้ว ชอบค่ะ สนุก ตลกดีทำให้ไม่เคร่งเรียด
2. อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำ ซึ่งเข้าใจเกี่ยวกับการสอนเด็กแบบการเรียนรวมมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้จริง มีประโยชน์อย่างมากค่ะ
3. อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะ เมื่อไม่เข้าใจ อธิบายแบบเจาะรายละเอียดเป๊ะๆ ไม่เข้าใจตรงไหน อย่างไร มีคำตอบให้ได้เสมอ สุดย๊อด... ^^

Posted by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 กลุ่มเรียน 101
เวลาเรียน 8:30-12:20 น.





ความรู้ที่ได้รับ

   สำหรับวันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์ให้เพื่อนแจกถุงมือให้คนละข้าง ทุกคนต่างก็สงสัยว่าอาจารย์จะให้ทำอะไรน๊อ?... 
   ต่อมาอาจารย์ก็ให้ใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้วให้วาดภาพมือข้างนั้น เก็บรายละเอียดให้มากที่สุด

ผลงานที่ได้



   จากกิจกรรมนี้ก็ได้ความรู้ คือ บางครั้งเรามองเห็นมืออยู่กับเราทุกวันตลอดเวลา แต่เราก็ไม่สามารถจำรายละเอียดได้หมดว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง ก็เปรียบเสมือนเรามองดูเด็กหากครูมองแบบผ่านๆเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถจำได้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร ยิ่งเป็นเด็กพิเศษครูต้องคอยมองดูพฤติกรรมเขาอยู่เสมอ 
   ฉะนั้น...การเป็นครูที่ดี ควรจะต้องมอง สังเกตุเด็ก พร้อมกับจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเก็บรายละเอียดได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น


จากนั้นเข้าสู่เนื้อหาที่เรียน มีหัวข้อดังนี้

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
• ทักษะของครูและทัศนคติ  การมองเด็กควรมองทุกคน ครูไม่ควรเพ่งมองดูเด็กคนใดคนหนึ่ง ซึ่งต้องทำให้เด็กทุกคนรู้สึกว่าเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กพิเศษ หรือเด็กปกติ ควรปรับทัศนคติเพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกน้อยใจ และที่สำคัญมากที่สุดคือ "ครูไม่ควรเข้าไปยุ่ง หรือสนิทสนมกับเด็กพิเศษมากเกินไป"

การฝึกเพิ่มเติม
• อบรมระยะสั้น , สัมมนา
• สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ
• เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
• ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
• รู้จักเด็กแต่ละคน
• มองเด็กให้เป็น “เด็ก”

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
• การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

การสอนโดยบังเอิญ
• ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
• เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
• ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
• ครูต้องมีความสนใจเด็ก
• ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
• ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
• ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
• ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
• ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

อุปกรณ์
• มีลักษณะง่ายๆ
• ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
• เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
• เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
• เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
• กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
• เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
• การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
• คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู
• การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
• ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
• ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ
• ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
• สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
• สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
• วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
• สอนจากง่ายไปยาก

จากนั้นพวกเราก็มีเซอร์ไพรส์วันเกิดอาจารย์เบียร์ พวกเราก็ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะคะ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และเป็นอาจารย์ที่น่ารักๆแบบนี้ตลอดไปนะคะ ^^






การประเมิน


ประเมินตนเอง
1. วันนี้เข้าเรียนสาย อิอิ..แต่ก็ตั้งใจเรียนนะคะ
2. ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ
3. ฝึกร้องเพลง และจำนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้ดีที่สุด

ประเมินเพื่อนๆ
1. เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย
2. เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเรียบร้อย และสร้างบรรยากาศอย่างสนุกสนานในชั้นเรียน
3. เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และช่วยกันจัดงานเซอร์ไพรส์อาจารย์อย่างดี

ประเมินอาจารย์
1. อาจารย์นำกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนเสมอ สนุกสนาน ชอบมากค่ะ
2. อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี เข้าใจเนื้อหาโดยเร็ว ไม่ซับซ้อน
3. อาจารย์ สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น สนุกสนาน ไม่เครียด


Posted by Unknown

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 กลุ่มเรียน 101

เวลาเรียน 8:30-12:20 น.




ความรู้ที่ได้รับ

   สำหรับวันนี้ก่อนจะเข้าสู่เนื้อในบทเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพดอกหางนกยูง ซึ่งต้องวาดให้เหมือน และเก็บรายละเอียดของภาพนี้ให้เยอะที่สุด แล้วก็ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม เมื่อวาดเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เขียนสิ่งที่เราเห็นในภาพดอกหางนกยูง ว่าเป็นอย่างไรบ้าง..



ผลงานที่ได้



   จากการวาดภาพดอกหางนกยูง และการเขียนอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นนั้น สามารถนำไปเชื่อมโยง กับการสังเกตุพฤติกรรมของเด็กพิเศษเมื่อเข้ามาเรียนรวม คือบทบาทของครูควรที่จะสังเกตุพฤติกรรมของเด็กพิเศษอย่างละเอียด และเมื่อเขาปฎิบัติตัวหรือทำกิจกรรมอะไรที่แปลกๆควรที่จะบันทึกทันที และสม่ำเสมอด้วย ซึ่งการบันทึกนั้นก็มีความสำคัญคือครูต้องบันทึกตามสภาพจริงตามพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกมา ไม่ควรเขียนอธิบายเกินจริง ฟรุ้งฟริ้งกระดิ่งแมว 555 (เหมือนที่พวกเราบรรยายเกี่ยวกับดอกหางนกยูง)

  ต่อมาก็เข้าสู่เนื้อหาในบทเรียน สำหรับวันนี้เราจะเรียนในหัวข้อบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
-การวิจัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-จากอากาศที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ 
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่า เด็กทำอะไรไม่ได้ 
-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคคลกรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-ส้งเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
-ทำอย่างสม่ำเสมอ
-ไม่มีคัยใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ๆช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู้ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ
-นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวันกี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
-.ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-โดยไม่ต้องเข้าใจไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตันสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

คำถามท้ายบท

1. ให้นักเรียนบอกบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กในห้องเรียรวม
ตอบ ควรปฎิบัติดังนี้
- การบันทึกต่อเนื่อง
- การบันทึกการสังเกต
-การสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ
       ไม่ควรปฎบัติดังนี้
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อเปรียบเสมือนประทับตัวเด็กตลอดไป
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูย้ำในสิ่งเขารู้อยู่

2.บอกลักษณะการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบว่ามีรูปแบบใดบ้างและแต่ละรูปแบบมีวิธีสังเกตเด็กอย่างไร
ตอบ   การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ


กิจกกรรมสุดท้ายอาจารย์มีชีดเพลงใหม่มาให้แล้วให้ฝึกร้องด้วยกัน


การประเมิน


ประเมินตนเอง
1. สนุุกสนานกับการเรียน และมีสมาธิมากขึ้นเมื่อได้ทำกิจกรรมศิลปะ การวาดรูประบายสี
2. แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
3. ฝึกร้องเพลง และให้ความร่วมมือกับเพื่อนเวลาทำกิจกรรมต่างๆ

ประเมินเพื่อนๆ
1. เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย
2. เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเรียบร้อย อาจมีคุยแต่ก็ทำให้บรรยากาศก็น่าเรียนยิ่งขึ้น
3. เพื่อนมีน้ำใจ ให้ยืมของใช้ เช่น ปากกา ไม้บรรทัด และให้คำแนะนำเวลาไม่เข้าใจ

ประเมินอาจารย์
1. อาจารย์น่ารักเสมอ มีกิจกรรมให้พวกเราได้ทำ นำเทคนิคการสอนที่ดีมาให้ปฏิบัติก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา
2. อาจารย์สนใจนักศึกษาทุกคน ในการบรรยายทุกครั้งสายตาอาจารย์จะไม่เจาะจงเพียงคนใดคนหนึ่ง แต่จะสบตากับทุกคน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสามารถทำให้นำไปใช้ได้เมื่อเราออกฝึกสอน ซึ่งครูอนุบาลที่ดีต้องมีความทั่วถึงกับเด็กทุกคนเช่นกัน

3. อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน พูดจาไพเราะ และสุภาพเสมอ ^^