บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 กลุ่มเรียน 101
เวลาเรียน 8:30-12:20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
สำหรับวันนี้ก่อนจะเข้าสู่เนื้อในบทเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพดอกหางนกยูง ซึ่งต้องวาดให้เหมือน และเก็บรายละเอียดของภาพนี้ให้เยอะที่สุด แล้วก็ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม เมื่อวาดเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เขียนสิ่งที่เราเห็นในภาพดอกหางนกยูง ว่าเป็นอย่างไรบ้าง..
ผลงานที่ได้
จากการวาดภาพดอกหางนกยูง และการเขียนอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นนั้น สามารถนำไปเชื่อมโยง กับการสังเกตุพฤติกรรมของเด็กพิเศษเมื่อเข้ามาเรียนรวม คือบทบาทของครูควรที่จะสังเกตุพฤติกรรมของเด็กพิเศษอย่างละเอียด และเมื่อเขาปฎิบัติตัวหรือทำกิจกรรมอะไรที่แปลกๆควรที่จะบันทึกทันที และสม่ำเสมอด้วย ซึ่งการบันทึกนั้นก็มีความสำคัญคือครูต้องบันทึกตามสภาพจริงตามพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกมา ไม่ควรเขียนอธิบายเกินจริง ฟรุ้งฟริ้งกระดิ่งแมว 555 (เหมือนที่พวกเราบรรยายเกี่ยวกับดอกหางนกยูง)
ต่อมาก็เข้าสู่เนื้อหาในบทเรียน สำหรับวันนี้เราจะเรียนในหัวข้อบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
-การวิจัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-จากอากาศที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่า เด็กทำอะไรไม่ได้
-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคคลกรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-ส้งเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
-ทำอย่างสม่ำเสมอ
-ไม่มีคัยใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ๆช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู้ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ
-นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวันกี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
-.ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-โดยไม่ต้องเข้าใจไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตันสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
คำถามท้ายบท
1. ให้นักเรียนบอกบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กในห้องเรียรวม
ตอบ ควรปฎิบัติดังนี้
- การบันทึกต่อเนื่อง
- การบันทึกการสังเกต
-การสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ
ไม่ควรปฎบัติดังนี้
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อเปรียบเสมือนประทับตัวเด็กตลอดไป
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูย้ำในสิ่งเขารู้อยู่
2.บอกลักษณะการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบว่ามีรูปแบบใดบ้างและแต่ละรูปแบบมีวิธีสังเกตเด็กอย่างไร
ตอบ การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
การประเมิน
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
กิจกกรรมสุดท้ายอาจารย์มีชีดเพลงใหม่มาให้แล้วให้ฝึกร้องด้วยกัน
ประเมินตนเอง
1. สนุุกสนานกับการเรียน และมีสมาธิมากขึ้นเมื่อได้ทำกิจกรรมศิลปะ การวาดรูประบายสี
2. แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
3. ฝึกร้องเพลง และให้ความร่วมมือกับเพื่อนเวลาทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินเพื่อนๆ
1. เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย
2. เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเรียบร้อย อาจมีคุยแต่ก็ทำให้บรรยากาศก็น่าเรียนยิ่งขึ้น
3. เพื่อนมีน้ำใจ ให้ยืมของใช้ เช่น ปากกา ไม้บรรทัด และให้คำแนะนำเวลาไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์
1. อาจารย์น่ารักเสมอ มีกิจกรรมให้พวกเราได้ทำ นำเทคนิคการสอนที่ดีมาให้ปฏิบัติก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา
2. อาจารย์สนใจนักศึกษาทุกคน ในการบรรยายทุกครั้งสายตาอาจารย์จะไม่เจาะจงเพียงคนใดคนหนึ่ง แต่จะสบตากับทุกคน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสามารถทำให้นำไปใช้ได้เมื่อเราออกฝึกสอน ซึ่งครูอนุบาลที่ดีต้องมีความทั่วถึงกับเด็กทุกคนเช่นกัน
3. อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน พูดจาไพเราะ และสุภาพเสมอ ^^
แสดงความคิดเห็น