Posted วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558 by Unknown


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  22 มกราคม 2558 กลุ่มเรียน 101
เวลาเรียน 8:30-12:20 น.





ความรู้ที่ได้รับ


   ในวันนี้อาจารย์เบียร์ได้เลื่อนเวลา มาเป็นตอนบ่ายซึ่งได้เรียนร่วมกับเพื่อนๆอีกกลุ่มนึง เนื่องจากตอนเช้าอาจารย์เบียร์ต้องไปทำธุระที่โรงเรียนเกษมพิทยา แต่ก็สนุกดีคะ ได้พบปะกับเพื่อนๆหลายคน ซึ่งนานๆครั้งจะได้มีโอกาสเรียนด้วยกัน ตอนเรียนก็คงไม่ต้องถามว่าจะเกิดอะไรขึ้น...เพราะทั้งสองเซคนี่ แหม่555 คุยเยอะซะเหลือเกิน  อิอิ ^^



   เข้าสู่เนื้อหากันดีกว่า...สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้  ได้รู้เกี่ยวกับรูปแบบการศึกษาของเด็กพิเศษมีดังนี้
•การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
•การศึกษาพิเศษ (Special Education)
•การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
•การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
   อาจารย์เบียร์เล่าให้ฟังว่า คือสมัยก่อนพ่อแม่ของเด็กพิเศษส่วนใหญ่จะแอบลูกไว้ในบ้าน ซุกซ่อน โดยจะไม่ให้ออกมาเล่นหน้าบ้าน เหมือนเด็กปกติทั่วไป คงจะเป็นเพราะอาย หรือ รู้สึกแปลกที่ลูกของตนเองไม่ปกติ


   ต่อมารัฐบาลก็เริ่มมีการจัดให้มีการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ซึ่งให้พวกเขาได้เรียนโรงเรียน เช่น 
- โรงเรียนสำหรับเด็กพิการทางสายตา
- โรงเรียนสำหรับเด็กหูหนวก
- โรงเรียนสำหรับเด็กปัญญาอ่อน เป็นต้น
ซึ่งการเรียนในโรงเรียนแบบนี้ก็จะมีทั้งข้อดี และข้อเสีย
ข้อดี คือ เด็กจะได้เจอเพื่อนๆในลักษณะเดียวกัน จะรู้สึกว่าไม่มีปมด้อย หรือรู้สึกไม่แปลกแตกต่างกับคนอื่น
ข้อเสีย คือ เด็กจะไม่คุ้นเคยกับสังคมภายนอก เพราะแต่ละวันก็ได้เจอกับเด็กที่มีลักษณะเหมือนกันทุกวัน
   ฉะนั้น จึงเกิดจัดตั้งการศึกษาแบบเรียนร่วม และการศึกษาแบบเรียนรวม (ใหม่ล่าสุด) ขึ้นมานั่นเอง

            
1.) การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ 



• การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
• มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน 
• ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน 
• ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
ซึ่งการจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนร่วมนี้ อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์ใดศูนย์หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
   1. เรียนร่วมบางเวลา (Integration) คือเด็กจะเข้าไปเรียนแค่บางบางช่วงของวัน ส่วนใหญ่จะเข้ามาร่วมในกิจกรรม เคลื่อนไหวและจังหวะ ศิลปะ เสริมประสบการณ์(อาจจะเข้ามาร่วมได้แค่บางคน) และก็วิชาดนตรี ที่เสริมเข้ามานอกจาก 6 กิจกรรมหลักเหล่านี้ ซึ่งเด็กพิเศษที่เข้ามาเรียนร่วมจะมีอาการ ระดับปานกลาง - ระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
   2. เรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) คือจะเหมือนกับเรียนร่วมบางเวลา แค่ต้องเข้ามาเรียนเต็มวันเท่านั้นเอง ซึ่งการศึกษาเหล่านี้ จะใช้หลักสูตรทั่วไป จะยึดความเท่าเทียม เด็กปกติใช้หลักสูตรแบบไหน เด็กพิเศษก็ต้องใช้เหมือนกัน


 2.) การศึกษาแบบเรียนรวม คือ 


   การศึกษาสำหรับทุกคน การรับเด็กเข้ารับการศึกษา ซึ่งมีสถานะเป็นเด็กนักเรียนของโรงเรียนนั้นเลย คือจะเข้าศึกษาตั้งแต่เริ่มแรกเหมือนเด็กปกติ ซึ่งจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007 การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลักการสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน การศึกษาแบบเรียนรวมต้องเริ่มตั้งแต่ในช่วงปฐมวัย และต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคล เพราะช่วงเด็กปฐมวัย เซลล์สมองกำลังพัฒนาในช่วงระยะแรกเกิด -7 ขวบ

  


  สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม


• เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
• การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
• เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
• เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน

เคล็ดลับ วิธีการแนะนำตัวของเด็กพิเศษให้เด็กปกติรู้จัก คือ
- ถ้ามีเด็กๆมาถาม ว่าเพื่อนเป็นอะไร ก็สามารถบอกได้ เช่น น้องเป็นดาวน์ซินโดรมนะคะ น้องไม่ค่อยแข็งแรง พวกเราต้องช่วยกันดูแลเพื่อนด้วยนะ อย่างแกล้งเพื่อน เป็นต้น
- ห้ามตั้งฉายาให้เด็กเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆก็ตามทั้งด้านดีและไม่ดี ให้เรียกชื่อเท่านั้น

  จากนั้นอาจารย์เบียร์ ก็ให้ฝึกร้องเพลง ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วทั้งหมด 4 เพลง โดยอาจารย์ร้องให้ฟัง แล้วให้พวกเราร้องตาม สนุกสนานอย่างมาก เพื่อนๆให้ความร่วมมืออย่างดี ต่อมาอาจารย์ก็ให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน 3 ข้อ และส่งภายในคาบ



   
การประเมิน






ประเมินตนเอง

1. ตั้งใจเรียน และจดเนื้อหาที่อาจารย์แนะนำเพิ่มเติมนอกจากในบทเรียน
2. แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
3. ฝึกร้องเพลง และให้ความร่วมมือกัลเพื่อนเวลาทำกิจกรรมต่างๆ

ประเมินเพื่อนๆ
1. เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย
2. เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีคุยกันบ้าง แต่ก็ฟังอาจารย์อย่างดี
3. เพื่อนมีน้ำใจ ให้ยืมของใช้ เช่น ปากกา ไม้บรรทัด และให้คำแนะนำเวลาไม่เข้าใจ

ประเมินอาจารย์
1. อาจารย์ควบคุมชั้นเรียนได้ดี สอนเข้าใจง่าย พูดจาไพเราะ น่าฟังค่ะ
2. อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ มีการใช่สื่อต่างๆ เช่น เพลง เป็นการช่วยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนครบทุกคน
3. อาจารย์ให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ให้คำปรึกษาในเรื่องที่พวกเราข้องใจ และแก้ปัญหา ช่วยหาทางออกให้เสมอ พวกเราขอบคุณมากๆนะคะ



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น